คอนโดมิเนียม บ้าน ทาวน์โฮม

Earthquake Safety Guidelines

Safe from Earthquake

อนันดาออกแบบโครงสร้างอาคาร โดยคำนึงถึงความปลอดภัย
ของลูกค้ามาเป็นอันดับแรก

แผ่นดินไหวกับอาคารสูงไม่ใช่เรื่องน่ากลัวอย่างที่คิด

ความตื่นตระหนกกับข่าวสารและความเชื่อผิดๆ ทำให้ข้อเท็จจริงในด้านความปลอดภัยคลาดเคลื่อนไป ถ้าพิจารณา เรื่องความปลอดภัยเชิงโครงสร้าง นักวิชาการได้ทำการพิสูจน์แล้วว่า ยิ่งอาคารสูงมากเท่าไหร่ ยิ่งมีการควบคุมคุณภาพการก่อสร้างมากเท่านั้น ทำให้เรื่องความสูงของอาคารไม่ใช่เรื่อง น่ากลัวอย่างที่หลายคนคิด ผู้ประกอบการอาคารสูงส่วนใหญ่ รวมไปถึง IDEO Condo จึงได้ให้ความสำคัญถึงความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัย เพราะถือ เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้การออกแบบและการก่อสร้างมีมาตรฐานและมั่นคงแข็งแกร่ง

Be near to whatever your lifestyle needs you to be

7 ขั้นตอนรับมือเมื่อเกิดภัยแผ่นดินไหว
1 ป้องกันตั้งแต่ตอนนี้
ป้องกันตั้งแต่ตอนนี้

เช็คว่าสิ่งของใดในบ้านมีแนวโน้มที่จะเป็นอันตรายเมื่อเกิดแผ่นดินไหว และซ่อมบำรุงให้อยู่ ในสภาพที่รับมือกับแผ่นดินไหวได้

2 วางแผนรับมือ
วางแผนรับมือ

การรวบรวมแผนการอพยพหนีภัย สถานที่นัดรวมตัว และเตรียมเบอร์ติดต่อฉุกเฉินทั้งใน และนอกเขตจังหวัดที่พักอาศัย

3 ชุทคิทสำหรับอุบัติภัย มีไว้ไม่เสียหาย
ชุทคิทสำหรับอุบัติภัย มีไว้ไม่เสียหาย

ชุดฉุกเฉินสำหรับอุบัติภัย ไว้เมื่อเวลามีแผ่นดินไหว โดยในชุดประกอบด้วย อุปกรณ์ง่ายๆ เช่น อาหารแห้ง, น้ำดื่มปิดผนึก, ไฟฉาย, ยารักษาโรค, นกหวีด และอุปกรณ์จุดไฟ และควร เก็บไว้ในที่ๆ สามารถหยิบได้ง่าย

4 เช็คความมั่นใจในที่อยู่อาศัยของคุณ
เช็คความมั่นใจในที่อยู่อาศัยของคุณ

ตรวจสอบโครงสร้าง ใบอนุญาตในปัจจุบัน (หลังปี 2550) ตึกสูงทุกหลัง จะมีกฏหมาย - ก่อสร้างรองรับในเรื่องของแผ่นดินไหวอยู่แล้ว ในขณะที่บ้านเดี่ยว อาจมีความเสี่ยงเนื่องจากข้อบังคับน้อยกว่า ซึ่งต้องอาศัยวิศวกร ในการช่วยตรวจสอบ และซ่อมแซมต่อไป

5 DROP! COVER! And HOLD ON!
DROP! COVER! And HOLD ON!

ในช่วงวิกฤตแผ่นดินไหว สามสิ่งที่ควรกระทำ คือ หมอบลงกับพื้น, หลบลงในท่าคู้ตัว ป้องกันด้านหลังศรีษะ และอยู่ข้างๆ วัตถุที่มั่นคงแข็งแกร่งหลีกเลี่ยงหน้าต่าง, ช่วงกลาง ของคาน

6 ตรวจสอบหลังวิกฤต
ตรวจสอบหลังวิกฤต

ตรวจสอบผลกระทบหลังวิกฤต ทั้งในส่วนของความบาดเจ็บต่อร่างกาย ความเสียหายต่อทรัพย์สินและค้นหาปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นหลังจากแผ่นดินไหว เช่น อาฟเตอร์ช็อก, แก๊สรั่ว หรือ ไฟฟ้ารั่ว

7 สื่อสารและฟื้นฟู
สื่อสารและฟื้นฟู

หลังจากวิกฤตผ่านไป การติดต่อสื่อสารหาข้อมูลเป็นสิ่งที่ควรกระทำอย่างยิ่ง เพื่อติดตามข้อมูลความเสียหาย ภัยที่จะตามมา และโอกาสในการฟื้นฟู ความเสียหายอย่างถูกต้อง

“โปรเจ็คแรกของ Ananda คือ IDEO ลาดพร้าว 17 เริ่มก่อสร้างปี 2551”

ได้สร้างตามกฏกระทรวงว่าด้วยการกำหนดรับน้ำหนัก ความต้านทาน ความคงทนของอาคารและพื้นดินที่รองรับอาคารในการต้านทานแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว พ.ศ.2550 อีกทั้งโครงการของ IDEO ทุกโครงการยังได้รับการอนุมัติในเรื่อง การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม EIA (Environment Impact Assessment)

มาตรการสำคัญในการสร้างความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยจากแผ่นดินไหวที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด วิธีการหนึ่งคือ การออกกฏหมายสำหรับควบคุมการออกแบบและก่อสร้างอาคารในพื้นที่เสี่ยงภัย โดยกระทรวงมหาดไทยโดยกรมโยธาธิการ และผังเมืองได้ประกาศใช้ “กฏกระทรวงว่าด้วยการกำหนดรับน้ำหนัก, ความต้านทาน, ความคงทนของอาคารและพื้นดินที่รองรับอาคารในการต้่านทานแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว พ.ศ.2550 ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ.2550”

IDEO Lat Phrao

โดยมีเนื้อหาหลักที่สำคัญดังต่อไปนี้

  • การเพิ่มเติมพื้นที่ควบคุมและจัดแบ่งเขตพื่นที่ใหม่
  • การจัดกลุ่มประเภทอาคารควบคุมให้มีความชัดเจนยื่งขึ้น
  • การคำนวณแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว
  • การอ้างถึงมาตรฐานประกอบการออกแบบอาคารเพื่อต้านทานแผ่นดินไหว ของถรมโยธาธิการและผังเมือง