โครงการนี้เกิดจากความร่วมมือระหว่างไทย–จีน ตั้งเป้าเชื่อมอาเซียนและจีน ผ่านแนวคิด Belt & Road Initiative ของจีน มีวัตถุประสงค์หลักคือเพิ่มความสะดวกในการเดินทาง ลดเวลา ประหยัดต้นทุน และกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐ–เอกชน โดยช่วยเชื่อมโยงหลายภูมิภาคเข้าด้วยกัน
เส้นทาง Phase 1 กรุงเทพ–นครราชสีมา
Phase 1 เริ่มต้นจากสถานีกลางบางซื่อ (กรุงเทพอภิวัฒน์) ผ่านดอนเมือง > อยุธยา > สระบุรี > ปากช่อง จนถึง นครราชสีมา รวมทั้งหมด 6 สถานี ระยะทางประมาณ 253 กม.
- ความเร็วสูงสุดในไทยประมาณ 250 กม./ชม.
- ขบวนที่ใช้คือ Fuxing CR300AF จากจีน รองรับผู้โดยสารประมาณ 600 คนต่อขบวน
ความคืบหน้าโครงการ ปัจจุบัน คืบหน้าอยู่ประมาณ 36 – 44% ของงานโยธา คาดว่าจะมีกำหนดเปิดให้บริการในปี ประมาณปี 2569 – 2570 จะเร็วกว่าหรือช้าออกไปอีก เพื่อนๆ ต้องมาลุ้นกัน
หากรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ – นครราชสีมา (Phase 1) เสร็จแล้ว การเดินทางจากกรุงเทพ สู่ นครราชสีมา จะลดระยะเวลาจากเดิม 3 – 4 ชั่วโมง กลายเป็น 1 ชั่วโมง 30 นาทีได้ แน่นอนว่าความเจริญจะเดินทางไปสู่นอกเมืองได้ง่ายมากยิ่งขึ้นด้วยเช่นกัน
สถานีกลางและระยะเวลาเดินทาง เส้นทางเชื่อม 6 สถานีหลักของ รถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ – นครราชสีมา (Phase 1) มีดังนี้
- กรุงเทพอภิวัฒน์ (บางซื่อ) จุดเริ่มต้น
- ดอนเมือง
- อยุธยา
- สระบุรี
- ปากช่อง
- นครราชสีมา
แน่นอนว่าถ้าการมาถึงของ รถไฟฟ้าความเร็วสูง สิ่งที่จะเกิดขึ้นและเป็นผลบวกทันทีคือ การเดินทางจะลดเวลาลงอย่างมาก การข้ามจังหวัดจะทำได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งส่งผลทางบวกกับเศรษฐกิจดังนี้
- ประหยัดเวลา จากเดิมเดินทางเกือบครึ่งวัน ลดเหลือไม่เกิน 2 ชั่วโมง ช่วยให้เที่ยว ทำงาน หรือเดินทางข้ามจังหวัดง่ายขึ้น
- เพิ่มโอกาสในการทำงาน คนโคราชหรืออยุธยาสามารถเชื่อมต่อกับกรุงเทพได้ง่ายขึ้น รองรับการทำงานที่ยืดหยุ่น
- กระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่น บ้านพักใกล้สถานีจะเติบโต ธุรกิจร้านอาหาร ร้านกาแฟ และสถานที่ท่องเที่ยวใกล้สถานีมีโอกาสพัฒนา
- สิ่งแวดล้อมดีขึ้น ลดการใช้รถยนต์วิ่งระยะไกล ช่วยลดฝุ่นและลดอุบัติเหตุบนถนน
โครงการ Phase 1 (กรุงเทพ–โคราช) เริ่มก่อสร้างตั้งแต่ปลายปี 2560 ล่าสุดงานโยธาทยอยคืบหน้าถึง 43.8% (มิถุนายน 2568) และทางการตั้งเป้าเริ่มเปิดบริการได้จริงในปี 2028 – 2029 (ประมาณครึ่งแรกของปี 2028) โดยสถานีแรกที่พร้อมคือบางซื่อ–นครราชสีมา (ระยะทาง 253 กม.)
และราคาค่าโดยสารโดยประมาณ จากโครงสร้างราคาพื้นฐานที่รัฐเสนอ คือเริ่มค่าตั๋วรถไฟความเร็วสูงขั้นต่ำ 80 บาท บวกเพิ่ม 1.8 บาท/กม.
นั่นหมายความว่าค่าโดยสารจาก กรุงเทพ–นครราชสีมา (253 กม.) จะอยู่ในระดับประมาณ 535 บาทต่อเที่ยว ส่วนเส้นทางรถไฟความเร็วสูงที่สั้นกว่า เช่น
- กรุงเทพ–อยุธยา ราคาประมาณ 195 บาท
- กรุงเทพ–สระบุรี ราคาประมาณ 278 บาท
- กรุงเทพ–ปากช่อง ราคาประมาณ 393 บาท
หากราคาเป็นไปตามนี้ก็ถือเป็นทางเลือกสำหรับการเดินทางที่น่าสนใจ ทั้งนี้ข้อมูลอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ หากต้องการอัปเดตที่แน่ชัดสามารถติดตามได้ที่ https://www.highspeedrail-thai-china.com