7 วิธีแก้ปัญหา ชักโครกกดไม่ลง ส้วมตัน แบบง่ายๆ ด้วยตัวคุณเอง !

ไม่ว่าจะอาศัยอยู่บ้านหรือคอนโด เชื่อว่าปัญหาหนึ่งอย่างที่หลายคนต้องเจอก็คือ ปัญหาส้วมตัน ชักโครกกดไม่ลง ซึ่งปัญหาส้วมตันถือว่าเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นแล้วต้องได้รับการแก้ไขในทันที เพราะหากปล่อยทิ้งไว้แล้วจะทำให้คนที่อยู่ในบ้านใช้ชีวิตติดขัด ไม่สามารถขับถ่ายได้อย่างสบายใจแล้ว ยังทำเกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์และเชื้อโรคที่จะทำให้คนในบ้านเกิดการเจ็บป่วยได้ ดังนั้นวันนี้เรามีความรู้เกี่ยวกับสาเหตุ วิธีการแก้ไขปัญหาและการป้องกันไม่ให้ส้วมตันมาฝากดังนี้

สาเหตุที่ทำให้ส้วมตัน ชักโครกกดไม่ลง

ปัญหา ชักโครกกดไม่ลง เป็นปัญหาที่พบได้มากที่สุดของการใช้ชักโครก ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ ชักโครกกดไม่ลง มีอยู่ด้วยกันหลายอย่าง ดังนี้

1.กระบวนการติดตั้ง

การติดตั้งชักโครกถ้าระดับความสูงที่บริเวณปลายท่ออากาศต่ำกว่าระดับที่น้ำท่วมหรือมีการติดวัสดุที่บริเวณปลายปากท่อจนทำให้อุดตัน ส่งผลให้ท่ออากาศทำงานได้ไม่ดี ส่งผลให้ไม่สามารถกดชักโครกลงได้ ซึ่งสาเหตุนี้สามารถตรวจพบและแก้ไขหลังทำการติดตั้งได้ทันที

2.บ่อเกรอะหรือบ่อซึมไม่ระบาย

บ่อเกรอะหรือบ่อซึมเป็นส่วนที่รองรับน้ำจากชักโครก หากน้ำในบ่อเกราะหรือบ่อซึมมีปริมาณสูงกว่าช่องระบายน้ำจากชักโครกจะทำให้น้ำจากชักโครกระบายออกไปไม่ได้

3.ชักโครกไม่ได้คุณภาพ

คุณภาพของชักโครกก็เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ ชักโครกกดไม่ลง เพราะว่าชักโครกที่ออกแบบมารองรับการระบายน้ำไม่ดีหรือรูรั่วของอากาศหรือเกิดการยุบตัวของช่องระบายทำให้ช่องระบายน้ำแคบลง ส่งผลให้การระบายน้ำของชักโครกไม่ดีและชักโครกกดได้ยาก

4.สิ่งอุดตัน

ปัญหาสิ่งอุดตันเป็นปัญหาหลักที่ทำให้ ชักโครกกดไม่ลง ซึ่งสิ่งอุดตันที่ทำให้ชักโครกอุดตันจะเป็นวัสดุที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ เช่น กระดาษชำระ เศษขยะ และผ้าอนามัย เป็นต้น โดยวัสดุดังกล่าวจะเข้าไปติดขวางในท่อระบายทำให้น้ำไม่สามารถระบายออกไปได้นั่นเอง

จะเห็นว่าสาเหตุที่ทำให้ ชักโครกกดไม่ลง ในข้อ 1-3 เป็นสาเหตุที่เกิดขึ้นในช่วงแรกของการติดตั้งชักโครกที่สามารถป้องกันได้ด้วยการเลือกชักโครกที่ได้คุณภาพ ติดตั้งด้วยช่างที่มีความชำนาญและวางระบบให้อยู่ลักษณะที่เหมาะสมเพื่อที่ชักโครกจะได้ไม่เกิดปัญหาขึ้น แต่ว่าปัญหาสิ่งอุดตันเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้งานในชีวิตประจำวันเป็นเหตุที่ไม่คาดฝันและเป็นปัญหาที่พบได้มาก ซึ่งผู้ใช้สามารถแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง

ประเภทของชักโครก

ปัจจุบันนี้ส้วมโถสุขภัณฑ์แบบชักโครกถือเป็นโถสุขภัณฑ์ที่มีการใช้งานมากที่สุด เนื่องจากความสะดวกสบายเหมาะสำหรับการใช้งาน โดยชนิดของชักโครกที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันมีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภท ดังนี้

1.แบบตักราด

คือ ชักโครกที่ใช้การตักน้ำราดแทนการกดเพื่อล้างสิ่งสกปรกลงไปในโถส้วมลงไปในบ่อส้วม

2.แบบฟลัชวาล์ว

คือ ชักโครกแบบกดน้ำในการล้างสิ่งสกปรกในโถส้วมลงไปในบ่อส้วม แต่ไม่มีถังพักน้ำอยู่ด้านหลังของชักโครก มีแต่ที่สำหรับกดน้ำเพื่อใช้ดันน้ำลงไปในโถส้วม ซึ่งชักโครกแบบนี้เหมาะกับที่สาธารณะที่มีคนใช้ร่วมกันเป็นจำนวนมาก

3.แบบฟลัชแทงค์

คือ ชักโครกแบบกดน้ำที่มีถังพักน้ำอยู่ด้านหลังของโถส้วม โดยเมื่อกดน้ำล้างชักโครกแล้ว น้ำจะไหลมาเก็บไว้ที่บริเวณถังพักน้ำเพื่อใช้ในการกดน้ำต่อไป นิยมใช้ทั้งที่บ้านและที่สาธารณะที่มีแรงดันน้ำไม่สูงมาก

ที่กล่าวมาคือชนิดของชักโครกที่มีในปัจจุบันนี้ ซึ่งการเลือกว่าจะใช้ชักโครกแบบใดก็ขึ้นอยู่กับสถานที่และความพึงพอใจของผู้ใช้ แต่ไม่ว่าจะเป็นชักโครกแบบใดก็มักมีปัญหาส้วมตัน ชักโครกกดไม่ลง อาจเกิดขึ้นได้เสมอ ดังนั้นเราจึงควรทราบถึงสาเหตุเพื่อที่จะได้ลดการเกิดปัญหาส้วมตันและ ชักโครกกดไม่ลง

วิธีแก้ปัญหาส้วมตันชักโครกกดไม่ลงจากสิ่งอุดตัน

ปัญหาส้วมตัน ชักโครกกดไม่ลง จากสิ่งอุดตันถือเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยมาก เรียกว่าแทบทุกบ้านต้องเคยเจอกับปัญหานี้ ซึ่งวิธีแก้ปัญหา ชักโครกกดไม่ลง จากสิ่งอุดตันอย่างได้ผล มีดังนี้

1.ยางปั๊มแก้ท่อตัน

การใช้ยางปั๊มเป็นวิธีพื้นฐานที่ใช้กันมายาวนาน แทบทุกบ้านจะมียางปั๊มติดห้องน้ำ เพื่อแก้ปัญหา ชักโครกกดไม่ลง โดยยางปั๊มแก้ท่อตันผลิตจากยางชนิดที่มีความยืดหยุ่น การใช้งานจะนำยางไปวางแนบสนิทกับช่องชักโครก ทำการกดและดึงเป็นจังหวะ การกดและดึงจะก่อให้เกิดแรงดันในท่อ ซึ่งแรงดันนี้จะทำการดึงและดันสิ่งอุดตันที่ขวางท่อชักโครกให้หลุดออกไป ทำให้การไหลเวียนของน้ำชักโครกกลับมาเป็นปกติ

2.น้ำยาแก้ท่อตันแก้ส้วมตัน

เป็นน้ำยาที่ออกแบบมาให้มีประสิทธิภาพในการสลายสิ่งอุดตันที่ทำให้ ชักโครกกดไม่ลง หลุดออกไป ซึ่งน้ำยานี้มีขายอยู่หลายยี่ห้อตามท้องตลาด วิธีการใช้ง่ายเพียงแค่ใส่น้ำยาลงในชักโครก ทิ้งไว้ประมาณ 30-40 นาทีแล้วทำการกดชักโครกเพื่อล้างน้ำยาและดันสิ่งอุดตันให้หลุดออกไป โดยน้ำยาแก้ท่อตันจะเข้าไปทำปฏิกิริยากัดกร่อนกับสิ่งอุดตันท่อ ทำให้อ่อนตัวหรือสลายตัวออกจากท่อ ส่งผลให้ชักโครกสามารถกดน้ำได้ปกติ ระหว่างที่ใส่น้ำยาแก้ท่อตันในโถชักโครกควรใส่ถุงมือ แว่นตาและผ้าปิดจมูกทุกครั้ง

3.น้ำร้อน

น้ำร้อนเป็นหนึ่งในวิธีที่สามารถช่วยแก้ปัญหา ชักโครกกดไม่ลง ได้ แต่ต้องสิ่งอุดตันจะต้องเป็นของจำพวกคราบไขมันหรือสิ่งอุดตันที่เกิดการสะสมในปริมาณน้อยหรืออุดตันได้ไม่นาน โดยน้ำร้อนจะเข้าไปทำให้สิ่งอุดตันเกิดการอ่อนนุ่ม ทำให้เมื่อกดชักโครกลงไปแรงดันของน้ำจะดันสิ่งอุดตันให้หลุดออกไป การราดน้ำร้อนจะใช้ครั้งละ 2-3 ลิตร ทำการราดต่อเนื่อง 2-3 รอบ สิ่งอุดตันก็จะหลุดออกไป

4.โซดาไฟ (Sodium hydroxide)

โซดาไฟมีลักษณะเป็นผงหรือเกล็ดสีขาวมีคุณสมบัติเป็นกรด มีฤทธิ์กัดกร่อน ช่วยแก้ปัญหา ชักโครกกดไม่ลง จากการอุดตันของคราบไขมัน เส้นผม คราบโปรตีน คราบสบู่และผงซักฟอก การใช้โซดาไฟเพื่อขจัดสิ่งอุดตันในท่อชักโครกต้องนำโซดาไฟละลายในน้ำอุ่นอัตราส่วนโซดาไฟ 5-8 ช้อนโต๊ะผสมน้ำ 0.5-1 ลิตรผสมให้เป็นเนื้อเดียวกัน ราดลงไปในโถชักโครก ทิ้งไว้ประมาณ 20-30 นาที แล้วเทน้ำร้อนตามลงไป 2-3 ลิตรหรือมากกว่านั้น

การราดน้ำร้อนตามลงไปเพื่อไปล้างคราบน้ำโซดาไฟที่ติดอยู่ตามท่อชักโครกให้หลุดออกไปตามกระแสน้ำ เพราะหากมีคราบน้ำโซดาไฟติดอยู่ เวลาที่มีน้ำเย็นผ่านเข้าไปน้ำโซดาไฟที่ติดอยู่ตามผนังท่อจะจับตัวกันเป็นก้อนทำให้ท่อชักโครกอุดตันในอนาคตได้ เมื่อล้างน้ำร้อนแล้วให้กดชักโครกซ้ำเพื่อล้างท่อให้สะอาดอีกครั้ง เพียงเท่านี้ชักโครกจะกลับมาใช้งานได้ตามปกติ ระหว่างที่ใส่โซดาไฟลงไปในโถชักโครกควรใส่ถุงมือ แว่นตาและผ้าปิดจมูกทุกครั้ง

5.เบกกิ้งโซดากับน้ำส้มสายชู

การใช้เบกกิ้งโซดากับน้ำส้มสายชูในการแก้ปัญหา ชักโครกกดไม่ลง เนื่องจากเบกกิ้งโซดามีฤทธิ์เป็นเบสที่สามารถย่อยสลายสารประกอบอินทรีย์อย่างคราบไขมัน คราบเนื้อ โดยเบกกิ้งโซดามีลักษณะเป็นผงสีขาว ส่วนน้ำส้มสายชูมีฤทธิ์เป็นกรดสามารถย่อยสลายแร่ธาตุในน้ำที่จับตัวกันเป็นก้อนแข็งในชักโครกและท่อ ในการใช้จะทำการราดเบกกิ้งโซดาลงในโถชักโครก 1 ถ้วยตวง ปล่อยไว้ประมาณ 20-30 นาที ตามด้วยน้ำส้มสายชู 1 ถ้วยตวง ปล่อยทิ้งไว้ 20-30 นาทีและราดด้วยน้ำร้อน 3-4 ลิตร พักไว้ประมาณ 30 นาที ทำการกดชักโครก เบกกิ้งโซดาและน้ำส้มสายชูจะเข้าไปกัดกร่อนสิ่งอุดตันให้อ่อนตัวและหลุดออกไป สำหรับน้ำร้อนจะไปล้างเบกกิ้งโซดาและน้ำส้มสายชูที่ติดอยู่ตามท่อชักโครกให้หลุดออกไปจนหมด ไม่จับตัวเป็นก่อนตามท่อชักโครก ระหว่างที่ใส่เบกกิ้งโซดาและน้ำส้มสายชูลงไปในโถชักโครกควรใส่ถุงมือ แว่นตาและผ้าปิดจมูกทุกครั้ง

6.พลาสติกหรือสก็อตเทปปิดชักโครก

พลาสติกหรือสก็อตเทปเมื่อนำมาปิดชักโครกจนมิดและทำการกดชักโครกจะทำให้เกิดแรงดัน ซึ่งแรงดันนี้จะสูงมากทำให้สามารถดันเอาสิ่งอุดตันให้หลุดออกจากท่อได้ โดยให้นำพลาสติกหรือสก็อตเทปมาปิดที่บริเวณปากชักโครกให้มิด ห้ามไม่ให้มีช่องหรือรูที่อากาศผ่านออกมาจากปากชักโครกได้ เพราะหากมีช่องหรือรูที่อากาศออกมาได้ แรงดันที่เกิดขึ้นจะน้อยไม่เพียงพอที่จะดันสิ่งสกปรกให้ออกไปได้

เมื่อปิดปากชักโครกจนมิดชิดแล้วให้ทำการกดชักโครก 2-3 ครั้ง หลังจากชักโครกจะมีน้ำและแรงดันเกิดขึ้นภายในชักโครก ทำให้พลาสติกหรือสก็อตเทปที่ติดอยู่ด้านบนปากชักโครกนูนขึ้น ให้ทำการกดบริเวณที่นูนเพื่อส่งแรงดันที่อยู่ในชักโครกดันสิ่งอุดตันที่อยู่ในท่อออกไป ในการทำให้ทำซ้ำ 2-3 ครั้งจะทำให้สิ่งอุดตันหลุดออกจากท่อชักโครกและชักโครกจะกลับมาใช้งานได้ปกติ

ขอบคุณรูปภาพจาก baanlaesuan.com

7.งูเหล็ก

หรือที่รู้จักกันในชื่อ “เหล็กทะลวงท่อหรือสปริงทะลวงท่อ” เป็นอุปกรณ์ที่สร้างขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหา ชักโครกกดไม่ลง โดยเฉพาะ งูเหล็กเป็นสปริงเหล็กเคลือบสารกันสนิมขนาดเล็กและยาว โดยความยาวมีตั้งแต่ 1-5 เมตร การใช้งานจะใส่ปลายของลวดเข้าไปในท่อ ชักโครกกดไม่ลง ขณะที่ใส่ท่อลงไปจะทำการหมุนงูเหล็กไปด้วย เพื่อให้งูเหล็กทะลวงสิ่งอุดตันให้หลุดออกไปตามท่อชักโครก โดยงูเหล็กมีทั้งแบบที่ใช้มือหมุนและแบบที่ใช้ไฟฟ้าในการหมุน

จะเห็นว่าวิธีการแก้ปัญหา ชักโครกกดไม่ลง มีหลายวิธี แต่ละวิธีนั้นไม่ยากสามารถทำได้ด้วยตนเองไม่จำเป็นต้องพึ่งช่าง ซึ่งทุกวิธีที่กล่าวมาสามารถช่วยแก้ไขปัญหาส้วมตันอย่างได้ผล รับรองว่าชักโครกจะกลับมาใช้งานได้อย่างปกติ แล้วปัญหาส้วมตัน ชักโครกกดไม่ลง จะไม่เป็นเรื่องธรรมดาที่แก้ไขได้ง่าย ๆ ซึ่งปัญหานี้ชาวคอนโดอนันดาสามารถนำไปแก้ไขได้ด้วยตนเองแบบง่าย ๆ แน่นอน

 

Related Posts

Leave a Comment

Categories

Recent Posts

Popular Tags

Scroll to Top