ทำความรู้จัก HYDROGEN ENERGY พลังงานสะอาด The Next Big Things ใหม่ของโลก! 

ถ้าพูดถึง ‘พลังงานทดแทน’ หรือ ‘พลังงานทางเลือก’ ที่ใช้แทนพลังงานเชื้อเพลิง จะเห็นว่าในปัจจุบันหลาย ๆ ประเทศทั่วโลกให้ความสำคัญกับการศึกษา ค้นคว้าหาพลังงานทดแทนรูปแบบใหม่ ๆ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ ช่วยประหยัดพลังงาน และช่วยลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ปัญหาโลกร้อนของโลกในอีกทางด้วย ซึ่งพลังงานทดแทนสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

  • พลังงานจากแหล่งที่ใช้แล้วหมด เช่น ถ่านหิน, น้ำมันดิบ, ก๊าซธรรมชาติ, นิวเคลียร์, หินน้ำมัน และทรายน้ำมัน เป็นต้น
  • พลังงานที่ใช้แล้วสามารถหมุนเวียนใช้ได้อีก เช่น แสงอาทิตย์, ลม, น้ำ, ชีวมวล และไฮโดรเจน ซึ่งเป็นพลังงานสะอาดไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

ซึ่งหัวข้อที่ Ananda จะชวนเพื่อน ๆ มาทำความรู้จักก็คือ พลังงานไฮโดรเจน พลังงานทดแทนรูปแบบใหม่ที่จะกลายเป็น The next Big Thing ในอนาคตของเราได้ จะด้วยเหตุผลอะไรนั้นมาไล่เรียงลำดับ ทำความรู้จักกับ พลังงานไฮโดรเจน กันได้เลย

สำหรับ ‘ไฮโดรเจน’ หรือ ‘พลังงานไฮโดรเจน’ ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างไร เพราะมีการคิดค้นเพื่อใช้งานตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 เป็นธาตุที่ค้นพบได้ปริมาณมากในจักรวาล มีองค์ประกอบของน้ำ (H₂O) สารประกอบที่มีมากสุดในโลก มีคุณสมบัติอยู่ได้ในทั้ง 3 สถานะ คือ ของแข็ง, ของเหลว และก๊าซ โดยจะเปลี่ยนสถานะไปตามอุณหภูมิและแรงดัน ซึ่งข้อดีของ พลังงานไฮโดรเจน ที่คือไม่มีสี ไม่มีกลิ่น มีการเผาไหม้ที่สะอาด ไม่ปล่อยมลพิษ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

แต่ถ้าจะให้เป็นพลังงานสะอาดแบบสุด ๆ ควรเลือกขั้นตอนการผลิตแบบ ไฮโดรเจนสีเขียว (Green Hydrogen) ที่ผลิตจากการนำพลังงานหมุนเวียนอย่างแสงอาทิตย์ หรือ พลังงานลม มาแยกก๊าซไฮโดรเจนออกจากน้ำ โดยไม่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในกระบวนการผลิต ด้วยเหตุนี้เองทำให้พลังงานไฮโดรเจนกลายเป็นหนึ่งในพลังงานทดแทน พลังงานทางเลือกที่ทั่วโลกให้ความสนใจอยู่ในขณะนี้ เพื่อช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดปัญหาโลกร้อน และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ ให้เป็นศูนย์ (Net Zero Commitment)

การใช้งานพลังงานไฮโดรเจน ส่วนใหญ่จะถูกนำมาประยุกต์ใช้งานใน 2 รูปแบบหลักๆ เช่น

  1. จุดระเบิดเครื่องยนต์สันดาป
  2. ใช้งานในรูปแบบของเซลล์เชื้อเพลิง

หรือสามารถนำมาประยุกต์ใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ หลากหลายอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็น อุตสาหกรรมเชื้อเพลิง, อาหาร, เภสัชภัณฑ์, โลหะ จนถึงอุตสาหกรรมการบินและอวกาศ สำหรับในประเทศไทย พลังงานไฮโดรเจน มีการนำมาใช้งานในด้านการผลิตกระแสไฟฟ้า โดยพลังงานไฮโดรเจนจากพลังงานลมจะช่วยเพิ่มความเสถียรให้กับการผลิตไฟฟ้านั่นเอง ซึ่งทิศทางของไฮโดรเจนจะเป็นอย่างไร ต้องติดตามกันในอนาคตว่าจะสามารถขึ้นแท่นเป็น The next Big Things ของโลกได้หรือไม่

เพราะยังคงมีข้อจำกัดหลายข้อที่ ไฮโดรเจน หรือ พลังงานไฮโดรเจน ไม่ถูกนำมาใช้งานอย่างแพร่หลาย เช่น

  1. ในปัจจุบันการผลิตไฮโดรเจนสีเขียว (Green Hydrogen) มีต้นทุนสูง
  2. จัดเก็บและขนส่งยาก เนื่องจากไฮโดรเจนเป็นธาตุที่มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา มีคุณสมบัติกัดกร่อน ทำให้ยากที่จะเก็บและขนส่ง
  3. มีคุณสมบัติติดไฟง่าย จึงต้องมีมาตรฐานความปลอดภัยสำหรับเครื่องยนต์ แต่ไม่ใช่เรื่องน่ากังวลใจสำหรับผู้ใช้แต่อย่างไร

แต่หากเปรียบกับข้อจำกัดแล้ว พลังงานไฮโดรเจน มีข้อดีที่เพียงพอให้องค์กรทั่วโลกหันมาให้ความสนใจและพัฒนาไฮโดรเจนให้เข้าถึงง่ายมากยิ่งขึ้น เช่น

  1. เป็นพลังงานสะอาด ไม่ปล่อยมลพิษขณะใช้งาน
  2. ประสิทธิภาพเทียบเท่าน้ำมันเชื้อเพลิง
  3. ประหยัดกว่าน้ำมัน 40 – 60%
  4. มีระบบระบายความร้อนที่ควบคุมทางอิเล็กทรอนิกส์
  5. ผลิตจากน้ำเปล่า เป็นธาตุที่ค้นพบได้ปริมาณมาก

ซึ่งถ้าโลกของเราก้าวข้ามข้อจำกัดเหล่านี้ได้ โลกจะมีพลังงานทดแทน พลังงานทางเลือกใหม่ที่ให้ผลลัพธ์ที่ดีต่อโลก ช่วยลดปัญหาก๊าซเรือนกระจก ลดปัญหาโลกร้อน รวมถึงลดการปล่อยคาร์บอนฯ ให้กลายเป็นศูนย์

Related Posts

Leave a Comment

Categories

Recent Posts

Popular Tags

Scroll to Top