รู้จักกฎ 30 วันการออม ถึงรายจ่ายเยอะ แต่ก็มีเงินเก็บ

เมื่อการช้อปปิ้งออนไลน์เป็นเรื่องง่ายๆ เพียงแค่ปลายนิ้ว การเก็บออกเงินจึงกลายเป็นเรื่องยาก แต่หากวันนี้เราปรับพฤติกรรมนิด เปลี่ยนความคิดซะหน่อย เงินที่เผลอช้อปปิ้งออกไป อาจกลายเป็นเงินออมก้อนโตในอนาคต ด้วยกฎ 30 วันที่จะช่วยควบคุมการใช้จ่ายเงินให้คุ้มค่าที่สุด

STEP 1 : รู้จัก “กฎ 30 วัน” กันก่อน

กฎ 30 วัน คือวิธีควบคุมรายจ่ายในแต่ละเดือนไม่ให้ทำร้ายกระเป๋า โดยหัวใจสำคัญของกฎ 30 วันคือ เมื่อใดที่คุณต้องการซื้ออะไรบางอย่างที่ไม่จำเป็น กฎนี้จะทำหน้าที่หยุดคุณไม่ให้ซื้อสิ่งนั้น 

วิธีคิดของกฎ 30 วันคือ ให้คุณเริ่มจดรายการที่อยากซื้อ พร้อมด้วยราคา แหล่งที่ซื้อ และวันที่ที่ต้องการซื้อ โดยจดไว้บนปฎิทินก่อนล่วงหน้า 1 เดือน ซึ่งจะทำให้คุณเห็นภาพรวมของรายจ่ายหรือรายการช้อปปิ้งว่า ใน 30 วันนี้คุณต้องการซื้ออะไรบ้าง 

ก่อนจะถึงเวลาซื้อที่จดในปฎิทิน คุณจะมีช่วงเวลา 30 วันในการคิดทบทวนถึง “ความจำเป็น” ของสิ่งนั้น ว่าเป็นของที่แค่อยากได้ หรือจำเป็นต้องใช้งาน เทคนิคกฎ 30 วันนี้ นอกจากทำให้คุณมีเวลาคิดทบทวนแล้ว ยังทำให้คุณมีเวลาเปรียบเทียบราคาอีกด้วย ดังนั้นกฎ 30 วันจึงช่วยลดรายจ่ายที่เกิดจากสิ่งของที่ไม่จำเป็นนั่นเอง

STEP 2 : กฏแห่งการออม

หลังจากใช้กฎ 30 วันในการพิจารณาเลือกช้อปสิ่งที่จำเป็นแล้ว ในขั้นต่อมาคือ เงินที่ไม่ได้ใช้จ่ายไปกับช้อปปิ้งลิสต์ที่ถูกตัดออกควรนำไปเป็นเงินออม อาจนำไปฝากประจำ รวมทั้งการนำเงินส่วนนี้ไปต่อยอดผ่านการลงทุนในกองทุน หุ้น และอื่นๆ 

อธิบายเพิ่มเติมจากเทคนิคการออมเงิน 50-30-20 นั่นคือ

  • 50% ของรายได้ สำหรับรายจ่ายที่จำเป็นในชีวิต เป็นรายจ่ายประเภทที่ขาดไม่ได้ อาทิ ค่าอาหาร, ค่าน้ำมันรถ, ค่าไฟ, ค่าอินเทอร์เน็ต ฯลฯ
  • 30% ของรายได้ สำหรับสิ่งของที่เราอยากได้ เป็นรายจ่ายทางเลือกที่เราควบคุมได้ด้วยกฎ 30 วัน
  • 20% ของรายได้ หมายถึงเงินฉุกเฉินในอนาคต หรือเงินออมเพื่อการลงทุน

ทั้งนี้เงิน 20% คือเงินออมที่หลายคนนำไปลงทุน ซื้อกองทุน หรือฝากประจำกันอยู่แล้ว แต่รายจ่ายจาก 30% หากเราสามารถประหยัดรายจ่ายส่วนนี้ได้ จะช่วยเสริมให้เงินออมเพิ่มพูนและมีเงินเก็บแต่ละเดือนมากกว่า 20% นั่นเอง

STEP 3 : กลยุทธ์การออมเงินให้ได้เงินออม

หลายคนกังวลว่าการใช้กฎ 30 วันอาจไม่ได้ผลกับตัวเอง เพราะสุดท้ายก็อดใจไม่ไหว 

เผลอช้อปทุกที แนะนำให้เสริมด้วยกลยุทธ์การออมเงินแบบต่างๆ เพิ่มเติม 

  • หักรายได้เข้าบัญชีเงินออมแบบอัตโนมัติในทุกเดือน แนะนำให้ตัดจากบัญชีเงินเดือนโดยตรง และตัดทันที 1 วันหลังจากเงินเดือนเข้าบัญชีแล้ว
  • ตั้งเป้าหมายเงินออมให้ชัดเจน และหมั่นตรวจสอบว่าเงินออมของคุณเป็นไปตามเป้าหมายหรือเปล่า หากยังไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ อาจต้องปรับการใช้จ่ายอีกครั้งด้วยการกลับไปดูช้อปปิ้งลิสต์ของกฎ 30 วัน
  • เก็บเล็กผสมน้อยก็ช่วยให้เราสะสมเงินออมได้เช่นกัน เช่น การเก็บธนบัตรใบละ 50 บาท, การเก็บเงินตามวันที่ หรือการเก็บเหรียญที่ได้จากเงินทอน ฯลฯ แม้จะเล็กน้อย หากเก็บสม่ำเสมอทั้งปี ก็กลายเป็นเงินก้อนให้เราภูมิใจ 

หลังอ่านบทความนี้จบก็ให้เริ่มกฎ 30 วันทันที เพื่อเงินออมในอนาคตกันนะครับ 

Related Posts

Leave a Comment

Categories

Recent Posts

Popular Tags

Scroll to Top