คุณรู้จัก “TOD” รึยัง มันกำลังจะกลายเป็นสิ่งสำคัญต่อสถานีรถไฟฟ้า

คุณรู้จัก “TOD” รึยัง มันกำลังจะกลายเป็นสิ่งสำคัญต่อสถานีรถไฟฟ้า

GC August

NOTE:
– นอกจากจะเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตแล้ว TOD ยังให้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจอีกด้วย สามารถเพิ่มการจับจ่ายใช้สอยในชุมชนโดยรอบได้ผ่านการเดินหรือขี่จักรยาน และสร้างโอกาสแก่ผู้ค้ารายย่อยในการร่วมพัฒนาเศรษฐกิจ และเป็นการส่งเสริมธุรกิจรายย่อยไปด้วยในตัว

ร่วมหาคำตอบได้ที่นี่ว่า TOD คืออะไร ทำไมถึงสำคัญต่อสถานีรถไฟฟ้า รวมถึงนักลงทุนคอนโด และแน่นอน TOD นี่แหละที่จะเป็นตัวเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ของคนเมืองให้คึกคักมากกว่าเก่า

TOD คือ อะไร

TOD (อ่านว่า ทีโอดี) อยู่ในแผนรถไฟฟ้าระยะ 2 หรือ M-MAP 2 ซึ่ง TOD (Transit Oriented Development) คือ การพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟฟ้าหรือระบบขนส่งมวลชนในระยะประมาณ 600 เมตร พูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือเป็นแหล่งช้อปปิ้ง ที่นำร้านค้า ร้านอาหาร หรือกิจกรรมอื่นๆ มาตั้งหรือจัดสรรในพื้นที่ระยะ 600 เมตรจากสถานีรถไฟฟ้า โดยใช้เวลาเดินเท้าประมาณ 5 – 10 นาที นอกจากนี้ยังมีทางจักรยานและที่จอดรถรองรับอีกด้วย

หลักแนวคิด 4 ประการในการพัฒนา TOD

1. ที่ดินโดยรอบสถานีจะถูกนำมาใช้ประโยชน์แบบผสมผสาน (Mixed Use Development) โดยในพื้นที่ใกล้สถานีหนึ่งแปลงอาจถูกพัฒนาให้เป็นทั้งที่อยู่อาศัย แหล่งพาณิชยกรรม และพื้นที่นันทนาการหลากหลายรูปแบบ

2. ที่ดินโดยรอบสถานีจะถูกพัฒนาอย่างกระชับ (compact development) ซึ่งเป็นการพัฒนาให้พื้นที่นั้นมีความหนาแน่นสูง กล่าวคือการใช้พื้นที่ทุกตารางเมตรเพื่อประโยชน์สูงสุด

3. ที่ดินโดยรอบสถานีจะถูกพัฒนาเพื่อให้ผู้คนสามารถเดินสัญจรได้อย่างสะดวก หมายความว่าบริการทุกอย่างในพื้นที่นั้นจะต้องเข้าถึงได้ด้วยการเดิน และพื้นที่นั้นจะต้องมีบรรยากาศที่น่าเดินด้วย

4. ที่ดินโดยรอบสถานีจะถูกพัฒนาเพื่อให้ประชาชนมีทางเลือกในการเดินทางที่หลากหลาย เช่นมีทั้งรถไฟฟ้า รถเมล์ ทางเดินเท้า ทางจักรยานและที่เก็บจักรยานไว้บริการ

01

ตัวอย่างแผนการพัฒนาพื้นที่ TOD ในรัฐฌารขัณฑ์ ประเทศอินเดีย

02

ตัวอย่างแผนการพัฒนาพื้นที่ TOD ในเจอร์ซี่ย์ซิตี้ รัฐนิวเจอร์ซี่ย์ ประเทศสหรัฐอเมริกา

ประเภทของ TOD

ตอนนี้ตาม M-MAP 2 นั้น TOD หรือ Transit Oriented Development มีอยู่ 4 ประเภทด้วยกัน ได้แก่

– TOD Urban Core คือ ศูนย์กลางหลักในการพัฒนา TOD ที่ติดสถานีรถไฟฟ้า ซึ่งจะมีร้านค้าและกิจกรรมต่างๆ ที่หนาแน่นมากที่สุด

– TOD Urban Center มีร้านค้าและกิจกรรมต่างๆ รองลงมาจาก TOD Urban Core

– TOD Urban General จะอยู่ถัดจาก TOD Urban Center เน้นที่พักอาศัยและกิจกรรมเชิงพาณิชย์ โดยมีอัตราส่วนประมาณ 50:50

– TOD Edge อยู่ห่างจากสถานีรถไฟฟ้ามากที่สุด สามารถเข้าถึงได้ด้วยขนส่งมวลชนระบบรองหรือรถยนต์ส่วนบุคคล ซึ่งมีอัตราส่วนที่พักอาศัยและร้านพาณิชย์ 70:30

ถ้าจะพูดให้เข้าใจง่ายๆ คือ TOD ทั้ง 4 ประเภทนี้จะแบ่งตามความใกล้สถานีเป็นหลัก ยิ่งใกล้เท่าไหร่ก็จะมีร้านค้าและความหนาแน่นของผู้คนมากเท่านั้น ในทางกลับกันห่างไกลออกมาหน่อยก็จะมีร้านค้ากับกิจกรรมต่างๆ ลดลง และจะเน้นไปที่บ้านพักอาศัยแทน

จะเริ่มใช้ TOD ที่ไหน

TOD จะเริ่มต้นนำมาประยุกต์ใช้กับ สถานีรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน โดยมี สถานีกลางบางซื่อ เป็นจุดหลัก ซึ่งตรงนี้จะอยู่ติดกับ TOD Urban Core และขยายเป็น TOD Urban Center ออกไปเรื่อยๆ ส่วนสถานีอื่นๆ ที่มีแผนทำ TOD ได้แก่ สถานีสวนจตุจักร สถานีพหลโยธิน สถานีห้าแยกลาดพร้าว โดยจะเป็นศูนย์กลางมหานครแห่งใหม่ระดับ ASEAN’ และแน่นอนนี่เป็นแค่ต้นแบบเท่านั้น ซึ่งอาจมีการนำ TOD ไปใช้ในพื้นที่อื่นๆ อีกเนื่องจากการปรับผังเมืองใหม่ปี 2559 ได้มีการเอาแนวคิดนี้เสริมเข้าไปด้วย

ยังไงก็ตามสำหรับแนวคิด TOD นั้น เราคงต้องรอลุ้นกันต่อไปว่าจะออกมาในรูปแบบไหน จะเหมือนกับแผนที่วางไว้หรือไม่

ค้นหาแรงบันดาลใจ ตอบโจทย์ ตรงจุด ชีวิตคนเมือง มองโลกใหม่ในอีกมิติที่คุณไม่เคยสัมผัสที่ GEN-C Urban Living Solutions
Facebook: Ananda Development
Instagram: ananda_development
Youtube: Ananda Development###

ขอบคุณข้อมูลประกอบจาก: http://www.uddc.net และ estopolis.com

Related Posts

Leave a Comment

Categories

Recent Posts

Popular Tags

Scroll to Top