ต่อเติมครัวหลังบ้านที่มีเคาน์เตอร์ขยายเพิ่มเติม.

ข้อควรรู้หากต้องการต่อเติมครัวหลังบ้านในทาวน์โฮม

ความหมายของทาวน์โฮม-และข้อแตกต่างจากทาวน์เฮ้าส์

ทาวน์โฮม เป็นบ้านประเภทหนึ่งที่สามารถสร้างได้หลายชั้น มีอาณาเขตชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นห้องนอน ห้องน้ำ ห้องรับแขกหรือแม้แต่ห้องครัว โดยจะแตกต่างกับทาวน์เฮ้าส์ ที่มีอาณาเขตชัดเจน ไม่สามารถแบ่งพื้นที่เป็นสัดส่วนหรือทำกิจกรรมภายในบ้านได้

เพราะเหตุใดทาวน์โฮมถึงได้รับความนิยมในหมู่คนรุ่นใหม่มากกว่าทาวน์เฮ้าส์

จากที่เขียนข้างต้น สิ่งหนึ่งที่ทาวน์โฮมได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในปัจจุบันคือ สามารถต่อเติมหรือก่อสร้างเพิ่มอาณาเขตของบ้านได้ง่าย คนรุ่นใหม่หรือผู้สูงอายุที่อยากเปลี่ยนแปลงบรรยากาศในบ้าน จึงได้เลือกที่จะปรับปรุงหรือก่อสร้างขยายพื้นที่ให้เป็นสัดส่วน เช่น ทำห้องนอนใหม่ ทำห้องรับรองแขกหรือต่อเติมครัวหลังบ้าน ส่งผลให้ราคาเริ่มสูงในตลาดอสังหาริมทรัพย์

ต่างจากทาวน์เฮ้าส์ที่มีแปลนตายตัว ไม่สามารถปรับปรุงต่อเติมภายในบ้านได้ เนื่องด้วยกฎหมายพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 รวมไปถึงอาณาเขตที่อยู่อาศัยมีจำกัด ยากที่จะปรับปรุงต่อเติม ส่งผลให้ปัจจุบันได้รับความนิยมน้อยลง สังเกตได้จากประกาศขายที่เพิ่มขึ้นสวนทางกับผู้สนใจซื้อผ่านเว็บไซต์นั่นเอง

ระยะห่างอันเหมาะสมของบ้านในการต่อเติมครัว

การต่อเติมครัวหลังบ้าน ผู้อาศัยต้องสังเกตพื้นที่บริเวณภายในและนอกบ้านว่าสร้างตามมาตรฐานหรือไม่ ตามกฎหมายแล้วทาวน์โฮมจะมีลักษณะดังต่อไปนี้

  1. ขนาดของทาวน์โฮมต้องมีหน้ากว้างขั้นต่ำ 4 เมตร
  2. พื้นที่ว่างด้านหน้า ระหว่างแนวรั้วหรือแนวเขตที่ดินกับผนังแถวบ้าน กว้างไม่น้อยกว่า 3 เมตร
  3. พื้นที่ว่างด้านหลังไม่น้อยกว่า 2 เมตร
  4. หากสร้างเป็นแถวยาวรวม ต้องเว้นว่างที่ว่างระหว่างแถว 4 เมตร

รูปแบบต่อเติมครัวที่นิยมในปัจจุบัน

การต่อเติมครัวหลังบ้าน ต้องพิจารณาเรื่องพื้นเป็นสำคัญ หากพื้นที่ต่อเติมเป็นพื้นดิน ควรเทพื้นคอนกรีตเป็นอันดับแรก โดยหล่อคอนกรีตบนพื้นดิน รวมไปถึงต้องสังเกตว่าเทคอนกรีตโดยอุปกรณ์ระบบภายในบ้าน เช่น ถังบำบัดน้ำเสีย ถังเก็บน้ำ เป็นต้น เพื่อที่เจ้าของทาวน์โฮมจะได้ไม่เสียทั้งเวลาและเสียเงินต่อเติมหรือปรับปรุงซ่อมแซมหลายครั้ง

การต่อเติมครัวในปัจจุบัน แบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ ดังนี้

  1. การต่อเติมโดยยึดรูปแบบเดิม ต่อเติมขยายพื้นที่โดยใช้โครงสร้างมาช่วย ข้อดีคือเพิ่มพื้นที่ใช้สอยภายในบ้านได้ดี ประหยัดค่าใช้จ่ายในการต่อเติม
  2. การต่อเติมแบบแยกโครงสร้าง เป็นการสร้างห้องครัวใหม่ เหมาะสำหรับผู้ที่มีทุนทรัพย์มากพอสมควร หลังจากแยกห้องครัวมาต่อเติมใหม่ ผู้อาศัยไม่ต้องกังวลเรื่องโครงสร้างเดิมอย่างแน่นอน

แบบครัวหลังบ้านที่นิยมในปัจจุบัน

ครัวชิดผนังด้านเดียว (One-Wall Kitchen)

ต่อเติมครัวหลังบ้านที่วางเครื่องใช้ครัวและตู้เก็บของไว้ผนังด้านเดียวกัน

พบได้ที่บ้านขนาดพื้นที่น้อย ครัวประเภทดังกล่าวจะวางตำแหน่งเคาน์เตอร์ ตู้เก็บของและเครื่องใช้ภายในครัวทั้งหมดไว้ที่ผนังด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อให้มีที่ว่าง ช่วยส่งเสริมบรรยากาศห้องครัวให้สดชื่น สบายตา เหมาะสำหรับผู้ใช้งานครัวแบบจำกัดพื้นที่

ครัวแบบเคาน์เตอร์กลาง (The Kitchen Island)

ต่อเติมครัวหลังบ้านโดยมีเคาน์เตอร์แยกออกไว้ตรงกลางในห้องครัว

ครัวที่มีเคาน์เตอร์แยกออกตรงกลาง เพื่อเพิ่มพื้นที่ปรุงอาหารและใช้งานครัวได้มากขึ้น สามารถเนรมิตให้เป็นลิ้นชักเก็บของใช้ รวมไปถึงรับประทานได้อีกด้วย ทั้งนี้ผู้อาศัยควรพิจารณาขนาดเคาน์เตอร์ที่นำมาวางในบ้านด้วยว่าเดินสะดวกในห้องครัวมากขึ้นหรือไม่

ครัวรูปตัวแอล (L-Shape)

ต่อเติมครัวหลังบ้านเป็นลักษณะรูปตัวแอล

ครัวที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน เหมาะสำหรับพื้นที่ขนาดเล็ก แต่มีพื้นที่ผนังบ้านยาว ลักษณะแปลนทำครัวมีด้านติดกันเป็นรูปตัวแอล อำนวยความสะดวกให้กับการทำอาหารหรือทานอาหารในครัว อีกทั้งยังมีพื้นที่สำหรับวางโต๊ะรับประทานอาหารอีกด้วย

ครัวแบบ 2 แถวตรง (Galley Kitchen)

ต่อเติมครัวหลังบ้านโดยมีทางเดินคั่น-2-ฝั่งภายในครัวบ้าน

ห้องครัวที่มีทางเดินคั่นระหว่าง 2 ฝั่งของครัว มีพื้นที่ยาว ถูกแยกออกจากบ้าน ตำแหน่งตู้เก็บของและเครื่องครัวอยู่ใกล้ สามารถหยิบใช้งานได้สะดวกรวดเร็ว ทั้งนี้ยังสามารถใช้ห้องครัวได้พร้อมกันถึง 2 คน
หากทำอาหารในชั่วโมงเร่งด่วน มั่นใจได้ว่าต้องเสร็จตามกำหนดที่วางแผนไว้

ครัวรูปตัวยู (U-Shape)

ต่อเติมครัวหลังบ้านลักษณะรูปแบบตัวยู

เหมาะสำหรับครัวที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่หรือบ้านพื้นที่กว้างขวาง โดยที่เตาแก๊ส ตู้เย็น อ่างล้างจานจะอยู่แยกกัน เพื่อให้การใช้ครัวและทำความสะอาดหลังใช้สะดวกขึ้น แต่ไม่ควรห่างกันจนเกินไป เพราะจะทำให้เสียเวลาในการหยิบของหรือการประกอบอาหาร

ครัวแบบเพนินซูล่า (The Peninsula)

ต่อเติมครัวหลังบ้านที่มีเคาน์เตอร์ขยายเพิ่มเติม.

ครัวที่มีเคาน์เตอร์ขยายเพิ่มจากอีกด้าน ลักษณะคล้ายกับครัวรูปตัวแอลที่มีพื้นที่ใช้สอยจำกัด โดยที่แปลนจะยาวน้อยกว่าครัวรูปตัวยู มีพื้นที่ครัวบริเวณเคาน์เตอร์ยื่นออกมา สามารถนั่งรับประทานอาหารได้รวมไปถึงเก็บอุปกรณ์การใช้งานในครัวให้เป็นระเบียบ

สิ่งที่ควรรู้หากต้องการต่อเติมครัวหลังบ้านในทาวน์โฮม

หากผู้อาศัยที่ต้องการต่อเติมครัว ควรศึกษาข้อกฎหมายตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 เรื่องต่อเติมที่เขียนไว้ว่า “ดัดแปลง” หมายถึง เปลี่ยนและต่อเติม เพิ่มลด หรือขยาย ซึ่งลักษณะขอบเขต แบบรูปทรง สัดส่วน น้ำหนัก เนื้อที่ ของโครงสร้างของอาคารหรือส่วนต่าง ๆ ที่สร้างไว้แล้วผิดจากเดิม มิใช่การซ่อมแซมหรือดัดแปลงตามกฎหมายกระทรวง

ภายหลังทางกระทรวงได้ออกพระราชบัญญัติเพิ่มเติมจากพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522
สำหรับผู้อาศัยที่ต้องการต่อเติมครัวหลังบ้านอย่างจริงจัง โดยเพิ่มการกระทำดังกล่าวที่ไม่ถือว่าเป็นการดัดแปลงอาคาร ดังนี้

  1. การเปลี่ยนโครงสร้างของอาคาร ต้องใช้วัสดุ ขนาดจำนวน และชนิดเดียวกับของเดิม เว้นเสียจากเปลี่ยนโครงสร้างของอาคารเดิม
  2. การเปลี่ยนแปลงส่วนต่าง ๆ ของอาคาร ใช้วัสดุเดิมหรือวัสดุอื่นที่ไม่เพิ่มน้ำหนักให้กับโครงสร้างเดิมเกินร้อยละสิบ เช่น เปลี่ยนกระเบื้องใหม่จากกระเบื้องเดิมที่ชำรุด สามารถเปลี่ยนแปลงได้ทันทีไม่ต้องรออนุญาต
  3. การเปลี่ยนแปลง ต่อเติม เพิ่ม ลดหรือขยาย ซึ่งมีลักษณะขอบเขต แบบ รูปทรง สัดส่วน น้ำหนัก เนื้อที่ของส่วนต่าง ๆ โดยไม่เป็นการเพิ่มน้ำหนักให้โครงสร้างของอาคารเดิมเกินร้อยละสิบ
  4. การลดหรือขยายเนื้อที่ของพื้นชั้นใดชั้นหนึ่ง ไม่มีการลดหรือเพิ่มจำนวนเสาหรือคานแต่อย่างใด มีพื้นที่น้อยลงหรือมากขึ้นรวมกันแล้วไม่เกิน 5 ตารางเมตร
  5. การลดหรือขยายเนื้อที่ของหลังคา รวมกันไม่เกิน 5 ตารางเมตร โดยไม่ลดหรือเพิ่มจำนวนเสาหรือคาน เช่น หากเป็นดาดฟ้าแล้วเพิ่มเติมกันสาดหรือทำหลังคาเพิ่มหรือลดจากพื้นที่ไม่เกิน 5 ตารางเมตร สามารถทำได้ทันที
  6. การติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์ สามารถติดตั้งได้ไม่เกิน 160 ตารางเมตร และมีน้ำหนักรวมไม่เกิน 20 กิโลกรัมต่อตารางเมตร รวมไปถึงต้องมีผลตรวจสอบความแข็งแรงเซลล์แสงอาทิตย์ที่กระทำและรับรองโดยวิศวกรโยธา

ราคาต่อเติมครัวหลังบ้านเริ่มที่เท่าไร

ผู้อาศัยที่มีประสบการณ์เรื่องต่อเติมบ้าน ยิ่งใช้พื้นที่ต่อเติมครัวหลังบ้านมากเท่าใด ยิ่งเสียค่าใช้จ่ายวัสดุต่อเติมมากเท่านั้น หากต่อเติมครัวด้วยตนเองมีค่าใช้จ่ายที่ห้าหลักขึ้นไป สามารถเลือกวัสดุต่อเติมได้ตามแผนงาน

อีกกรณีหนึ่งคือผู้อาศัยทาวน์โฮม ต้องการให้ช่างที่มีประสบการณ์เข้ามาดูแล หลายบริษัทยินดีให้คำแนะนำฟรีไม่เสียค่าใช้จ่าย ถ้าต้องการให้บริษัทเข้ามาต่อเติม จะมีค่าใช้จ่ายตั้งแต่ห้าหลักขึ้นไปเช่นเดียวกัน บางบริษัทจะทำตามงบประมาณต่อเติมครัวตามที่ผู้ว่าจ้างมี เห็นได้จากปัจจุบันที่มีบริษัทรับต่อเติมตามงบประมาณผู้จ้าง แต่ได้ผลงานที่สวยงามและใช้ได้นานคู่กับผู้อาศัย

Related Posts

Leave a Comment

Categories

Recent Posts

Popular Tags

Scroll to Top