ทำความรู้จัก “บัตรแมงมุม” ระบบตั๋วร่วม สามารถใช้กับขนส่งสาธารณะได้ทุกระบบ

ทำความรู้จัก “บัตรแมงมุม” ระบบตั๋วร่วม สามารถใช้กับขนส่งสาธารณะได้ทุกระบบ

NOTE:
– ระบบตั๋วร่วม หรือบัตรแมงมุม ออกแบบให้รองรับกับระบบการจ่ายเงินสวัสดิการสังคมและช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย ภายใต้โครงการระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (National e-Payment) ของรัฐบาล ซึ่งจะเริ่มใช้ได้ในเดือนตุลาคม 2560
– ระบบรถไฟฟ้าสายใหม่ๆที่กำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้าง เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดให้บริการ ก็จะสามารถใช้ระบบตั๋วร่วมในการเดินทางในรถไฟฟ้าสายต่างๆเหล่านั้นได้ด้วย

นอกจากอีกไม่นานเราจะมีระบบรถไฟฟ้าหลายเส้นทางช่วยอำนวยความสะดวกในการคมนาคม การพกบัตรโดยสารหลายใบอาจจะสร้างปัญหาความสับสนให้กับผู้ใช้เส้นทางต่างๆ ได้ ดังนั้นสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จึงดำเนินการพัฒนาระบบตั๋วร่วม (Common Ticketing System) ในชื่อ บัตรแมงมุมเพื่อเพิ่มความสะดวกสบายในการเชื่อมต่อการเดินทางทุกรูปแบบให้กับประชาชน ด้วยบัตรเพียงใบเดียวนั้น

01

ล่าสุดได้จัดทำระบบศูนย์บริหารจัดการรายได้กลาง (Central Clearing House: CCH) ในภาคขนส่งแล้วเสร็จเมื่อเดือนสิงหาคม 2559 ขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจากับผู้ประกอบการรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการในปัจจุบัน 4 สาย ประกอบด้วย ระบบรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (รถไฟฟ้าใต้ดิน สายสีน้ำเงิน) ระบบรถไฟฟ้ามหานครสายฉลองรัชธรรม (รถไฟฟ้า สายสีม่วง) ระบบรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์) และระบบรถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา สายที่ 1 และ สายที่ 2 (รถไฟฟ้า สายสีเขียว) เพื่อดำเนินการปรับปรุงระบบจัดเก็บค่าโดยสารให้สามารถรองรับการใช้ระบบตั๋วร่วม และเจรจากับผู้ประกอบระบบขนส่งรายใหม่ ให้มีการติดตั้งระบบจัดเก็บค่าโดยสารตามมาตรฐานกลางระบบตั๋วร่วมเพื่อรองรับการใช้งานบัตรแมงมุมเมื่อเปิดให้บริการ

02

โดยแบ่งบัตรออกเป็น 3 ประเภทหลัก ได้เเก่

1. บุคคลทั่วไป สำหรับผู้ใช้งานทั่วไป สามารถซื้อบัตรได้ตามจุดจำหน่ายของผู้ให้บริการหรือสถานที่จำหน่ายตัวแทนผู้ให้บริการ

2. ลงทะเบียน สำหรับผู้ใช้งานที่ต้องการร่วมใช้สิทธิของบัตรโดยต้องลงทะเบียนเพื่อใส่ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ถือบัตรเข้าไปในระบบเพื่อใช้เป็นข้อมูลระบุตัวตนเจ้าของบัตร ซึ่งผู้ถือบัตรจะได้รับสิทธิต่างๆตามที่กำหนด เช่น สามารถแจ้งระงับการใช้บัตรหรือขอคืนมูลค่าเงินคงเหลือในบัตรได้กรณีบัตรหาย

3. ส่วนบุคคล ออกแบบสำหรับกลุ่มผู้ใช้งานหรือองค์กรเฉพาะเพราะจะมีการบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลในระบบและในบัตร รวมทั้งจะมีการพิมพ์ลายหรือรูปที่ต้องการลงบนตัวบัตร ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์เป็นแบบต่างๆได้ เช่นบัตรพนักงาน

ประเภทลงทะเบียนและส่วนบุคคลจำเป็นที่ผู้ถือบัตรต้องให้ข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อจัดเก็บในศูนย์บริหารจัดการรายได้กลางสำหรับการใช้ระบุตัวตนในการใช้บริการเพื่อรับสิทธิพิเศษหรือบริการที่กำหนดไว้สำหรับบัตรแต่ละประเภทครับ และในแต่ละประเภทของผู้ถือบัตรสามารถกำหนดประเภทย่อยของบัตรได้สูงสุดถึง 64 ประเภทด้วยกัน เช่น ประเภทนักเรียน ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้มีรายได้น้อย นักท่องเที่ยว เป็นต้น

รูปแบบการใช้งานบัตรแมงมุม สามารถใช้ได้กว้างขวางถึง 4 รูปแบบ คือ

1. รูปแบบกระเป๋าร่วม ซึ่งมีความยืดหยุ่นในการใช้งานได้หลากหลายทั้งชำระค่าโดยสารในธุรกิจขนส่งและชำระค่าสินค้าร้านค้าปลีก โดยสามารถเติมเงินภายในบัตรได้สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท

2. รูปแบบเที่ยวการเดินทางร่วม ใช้กับระบบขนส่งที่สามารถตัดค่าโดยสารเป็นเที่ยวได้ ซึ่งสามารถเลือกได้ 2 รูปแบบ คือ แบบจำกัดจำนวนเที่ยวและวัน และ แบบไม่จำกัดจำนวนเที่ยวแต่จำกัดจำนวนวัน

3. รูปแบบเที่ยวการเดินทางแบบเจาะจงเส้นทาง เป็นรูปแบบเที่ยวการเดินทางที่กำหนดให้ผู้ใช้งานต้องเข้าและออกจากสถานีที่ได้ซื้อไว้เท่านั้น จึงจะได้ราคาส่วนลดในการซื้อ

4. รูปแบบผลิตภัณฑ์เพื่อส่งเสริมการขาย เป็นรูปแบบที่ผู้ใช้ชำระค่าโดยสารหรือซื้อสินค้าซึ่งจะได้รับแต้มสะสมเพื่อนำมาแลกของรางวัลหรือผลิตภัณฑ์

03

การดำเนินงานเพื่อใช้งานระบบตั๋วร่วม

1. รฟม.ปรับปรุงระบบตั๋วของรถไฟฟ้าสายสีม่วงให้สามารถใช้งานระบบตั๋วร่วม (.. 2560)

2. บริษัท รถไฟฟ้า ... จำกัด (รฟฟท.) ปรับปรุงระบบตั๋วของรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยาน (Airport Rail Link) ให้สามารถใช้งานระบบตั๋วร่วม (..2560)

3. องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ(ขสมก.) ติดตั้งระบบตั๋วสำหรับรถโดยสารประจำทาง จำนวน 800 คัน ให้สามารถใช้งานระบบตั๋วร่วม ทั้งนี้ ขสมก.มีแผนที่จะติดตั้งให้ครบ 2,600 คัน ภายในต้นปี 2561 (.. 2560)

4. ผู้บริหารจัดการและบำรุงรักษาระบบตั๋วร่วม และบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) (BTS) จัดทำข้อตกลง (Service provider agreement) และติดตั้งระบบตั๋วของรถไฟฟ้าสายสีเขียว ให้สามารถใช้งานระบบตั๋วร่วม (.. 2560 – ..2561)

5. ผู้บริหารจัดการและบำรุงรักษาระบบตั๋วร่วม และบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BEM) จัดทำข้อตกลง(Service provider agreement) และติดตั้งระบบตั๋วของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ให้สามารถใช้งานระบบตั๋วร่วม (.. 2560 – .. 2561)

ระบบตั๋วร่วมได้ออกแบบให้สามารถรองรับระบบการจ่ายเงินสวัสดิการสังคมและช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยของรัฐบาล ภายใต้โครงการระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (National e-Payment) โดยผู้มีรายได้น้อยสามารถใช้บัตรสวัสดิการในการใช้บริการระบบขนส่ง เช่น ระบบรถโดยสารประจำทาง ทั้งนี้ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนบูรณาการระบบตั๋วร่วมเข้ากับระบบจ่ายเงินเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2560 สำหรับพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยให้เริ่มใช้งานระบบตั๋วร่วมได้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2560 เป็นต้นไป

ค้นหาแรงบันดาลใจ ตอบโจทย์ ตรงจุด ชีวิตคนเมือง มองโลกใหม่ในอีกมิติที่คุณไม่เคยสัมผัสที่ GEN-C Urban Living Solutions
Facebook: Ananda Development
Instagram: ananda_development
Youtube: Ananda Development

ขอบคุณข้อมูลประกอบจาก: www.prachachat.net และ http://www.realist.co.th

Related Posts

Leave a Comment

Categories

Recent Posts

Popular Tags

Scroll to Top