อยากมั่นคงต้องทำอย่างไร? เริ่มต้นปีใหม่ด้วยการออม 4 กองทุน

SL04

NOTE:
– ภาพรวมเศรษฐกิจของไทยในปีนี้มีแนวโน้มฟื้นตัวต่างจากปีก่อน โดย GDP ของประเทศอาจขยายตัวได้ถึงร้อยละ 3.8
– 1 – 7 คือตัวเลขแสดงระดับความเสี่ยงของกองทุน โดยกองทุนระดับ 1 คือกองทุนที่มีความเสี่ยงต่ำสุดและกองทุนระดับ 8 คือกองทุนที่มีความเสี่ยงสูงที่สุด
– ปัจจุบัน สปส. หรือสำนักงานประกันสังคม มีแนวคิดที่จะขยายเงินชราภาพของกองทุนประกันสังคมจากเดิมที่จะได้รับเมื่ออายุครบ 55 ปี ออกไปเป็น 60 ปี

สำหรับใครที่วางแผนกำลังจะเก็บเงินในช่วงต้นปีแบบนี้เรียกได้ว่าเป็นเวลาอันดีที่เหมาะจะเริ่มต้นมากที่สุด และถ้าหากยังไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นเก็บอย่างไรให้งอกเงยดี วันนี้เรามี 4 วิธีการออมผ่านกองทุนมาฝากกัน เรียกว่าได้ทั้งออม ได้ทั้งกำไรไปในตัว จะมีวิธีไหนบ้างนั้นไปชมกันเลยครับ

1801-SL-01-01

1.กองทุนประกันสังคม

เชื่อหรือไม่ว่ากองทุนประกันสังคมที่เราโดนหักไปจากเงินเดือนทุกเดือนนั้น นอกจากจะสามารถนำมาลดหย่อนภาษีในแต่ละปีได้แล้วนั้น (ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสูงสุดไม่เกิน 9,000 บาท/ปี) กองทุนประกันสังคมยังเป็นอีกหนึ่งการออมเงินของมนุษย์เงินเดือนที่ทำให้เรามีรายได้ไว้ใช้เมื่อยามเกษียณอีกด้วย นอกจากนี้เรายังสามารถชำระเงินสมทบกรณีชราภาพเพื่อรับเงินบำนาญในระยะยาว โดยเมื่อชำระครบ 180 เดือน ก็จะได้รับเงินบำนาญชราภาพร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายร่วมกับส่วนเพิ่มจากการส่งเงินสมทบที่เพิ่มขึ้นทุกๆ 12 เดือนอีกร้อยละ 1.5 ของค่าจ้าง ดังนั้นการส่งกองทุนประกันสังคมให้ครบไม่มีตกหล่นก็ถือเป็นหนึ่งในการออมระยะยาวที่ดีต่อตัวเรานั่นเองครับ

Photo credit Matthias Zomer

2.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

เป็นอีกหนึ่งกองทุนที่หลายๆ คนมักมองข้าม แต่เชื่อหรือไม่ว่ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั้นถือเป็นหนึ่งในการออมเบื้องต้นที่พนักงานองค์กรทุกคนควรทำ เนื่องจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะเป็นการหักออกจากเงินเดือนในแต่ละเดือนที่ได้รับ ซึ่งทำให้เราสามารถสร้างวินัยการออมอย่างสม่ำเสมอได้ทุกเดือน นอกจากนี้แต่ละองค์กรก็จะมีการสมทบเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้กับพนักงาน (มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับนโยบายแต่ละบริษัท) โดยเมื่อลาออกหรือเกษียณเราก็จะได้รับเงินสะสมที่ออมไว้แบบเต็มๆ ทั้งนี้กองทุนสำรองเลี้ยงชีพสามารถนำไปลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในแต่ละปีได้สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท อีกด้วย

1801-SL-01-03

3.กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) / กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)

หลายๆ คนคงคุ้นหูกับเหล่ากองทุนรวมอย่าง LTF และ RMF เป็นอย่างดี โดยการออมกับกองทุนรวมประเภทนี้มีข้อดีคือความเสี่ยงค่อนข้างต่ำและสามารถนำไปลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในแต่ละปีได้ โดย LTF หรือ กองทุนรวมหุ้นระยะยาว เป็นกองทุนที่เน้นการลงทุนในหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของมูลค่าการลงทุน และต้องถือหน่วยการลงทุนครั้งละ 7 ปี สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีหรือไม่เกิน 500,000 บาท

ส่วน RMF หรือ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ นั้นเป็นกองทุนที่เน้นให้เราออมเงินในระยะยาวเพื่อใช้ยามเกษียณ เนื่องจากกองทุนประเภทนี้จะขายคืนได้ก็ต่อเมื่อเรามีอายุครบ 55 ปีขึ้นไปเท่านั้น ซึ่งข้อดีของ RMF นอกจากสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้แล้ว กองทุนนี้ยังมีแนวทางในการลงทุนที่หลากหลายกว่า LTF ที่จำกัดเฉพาะหุ้นซึ่งทำให้เราสามารถเลือกลงทุนได้ตามสภาวะเศรษฐกิจและช่วงเวลาที่สนใจ แต่ก็แลกมากับการต้องถือครองในระยะยาวนั่นเอง

1801-SL-01-04

4.กองทุนรวม

นอกเหนือจาก LTF และ RMF แล้วนั้น การออมเงินโดยการซื้อกองทุนรวมก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่สร้างรายได้ให้กับเราสูงกว่าการฝากเงินแบบปกติอีกเช่นเดียวกัน ยิ่งโดยเฉพาะมือใหม่หรือมนุษย์เงินเดือนที่ไม่มีเวลาติดตามข่าวสารเรื่องการลงทุนสักเท่าไหร่ การลงทุนในกองทุนรวมเพื่อให้ผู้อื่นนำไปลงทุนต่อนั้นย่อมเกิดความเสี่ยงและทำได้ง่ายมากกว่าการลงทุนโดยการซื้อหุ้นอย่างแน่นอน ซึ่งถ้าชาว Gen-C คนไหนที่สนใจอยากลงทุนในกองทุนรวม ก็สามารถสอบถามจากเจ้าหน้าที่ของธนาคารที่เราฝากเงินไว้แต่ละแห่งก็ย่อมได้ครับ

ค้นหาแรงบันดาลใจ ตอบโจทย์ ตรงจุด ชีวิตคนเมือง มองโลกใหม่ในอีกมิติที่คุณไม่เคยสัมผัสที่ GEN-C Urban Living Solutions
Facebook: Ananda Development
Instagram: ananda_development
Youtube: Ananda Development

ขอบคุณข้อมูลประกอบจาก: www.jobsdb.com

Related Posts

Leave a Comment

Categories

Recent Posts

Popular Tags

Scroll to Top